โรคหนองใน รู้ทัน ป้องกันได้

//

lgbtthai

beefhunt

โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae โรคนี้สามารถติดเชื้อได้ทั้งชาย และหญิง จากการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปาก ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงท่อปัสสาวะ ทวารหนัก คอ และแม้กระทั่งดวงตา

โรคหนองใน รู้ทัน ป้องกันได้

อาการของโรคหนองใน

อาการของโรคหนองในอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่มีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้

Love2test
  • ในผู้ชาย
    • มีหนองสีขาว เหลือง หรือเขียว ออกจากปลายอวัยวะเพศ
    • รู้สึกแสบ หรือเจ็บเมื่อปัสสาวะ  หรือปัสสาวะแสบขัด
    • มีอาการปวด หรือบวมในลูกอัณฑะ
  • ในผู้หญิง
    • มีหนองออกจากช่องคลอด
    • มีตกขาวผิดปกติ
    • รู้สึกแสบ หรือเจ็บเมื่อปัสสาวะ
    • มีอาการปวดท้องน้อย หรือมีเลือดออกระหว่างรอบเดือน
    • มีเลือดออกผิดปกติหลังมีเพศสัมพันธ์

ซึ่งบางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ แต่ก็ยังสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ หากสงสัยว่าตนเองเป็นโรคหนองใน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาโดยเร็ว

การรักษาโรคหนองใน

การรักษาโรคหนองใน

  • แพทย์จะรักษาโดยการฉีดยาปฏิชีวนะ เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว หรืออาจให้รับประทานยาเซฟิซิม (Cefixime) หากอาการไม่ดีขึ้น ควรกลับมาพบแทย์ทันทีเนื่องจากเชื้ออาจดื้อยา 
  • ผู้ป่วยควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 7 วันหลังเข้ารับการรักษา ห่รือจนกว่าจะหายดี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ควรแจ้งผลตรวจโรคหนองในให้คู่นอนทราบ และแนะนำให้คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ภายใน 60 วันก่อนที่ผู้ป่วยมีอาการโรคหนองในไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจ และรักษาเช่นเดียวกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำหลังจากผู้ป่วยรักษาหายแล้ว หรือป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น

โรคหนองใน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น 

  • ภาวะมีบุตรยาก
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ
  • โรคข้ออักเสบ
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
การป้องกันโรคหนองใน

การป้องกันโรคหนองใน

การป้องกันโรคหนองในนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การมีคู่นอนเพียงคนเดียว หรือไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
  • หลีกเลี่ยงมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน หรือ ผู้ที่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
  • รักษาความสะอาดร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ
  • การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำจะช่วยให้สามารถตรวจพบ และรักษาโรคได้อย่างรวดเร็ว

โรคหนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถป้องกัน และรักษาได้ การรู้ทัน และป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัย ถือเป็นพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย พร้อมกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคนี้ รวมถึงการรักษาที่ถูกต้อง และการดูแลหลังการรักษาจะช่วยให้หายขาด และป้องกันการแพร่เชื้อในอนาคต

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม