รู้หรือไม่ ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ได้แปลว่าเป็นโรคเอดส์

//

lgbtthai

รู้หรือไม่ ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ได้แปลว่าเป็นโรคเอดส์

หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่า การติดเชื้อเอชไอวีนั้น หมายถึง การเป็นโรคเอดส์ ซึ่งไม่ถูกต้องเสมอไป บทความนี้จะมาอธิบายความแตกต่างระหว่าง เชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์ รวมไปถึงข้อมูลสำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี

เชื้อเอชไอวี ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัสที่โจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ส่งผลให้ร่างกาย susceptible กับโรคต่างๆ มากขึ้น  ซึ่งหากปล่อยไว้เชื้อเอชไอวีจะทำให้ป่วยเป็นโรคเอดส์ (AIDS) ได้ในอนาคต

โรคเอดส์ ย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายจนอ่อนแอลงมาก ไม่สามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้  จึงมีโอกาสติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม หรือเชื้อราขึ้นสมอง เป็นต้น

กว่าเชื้อเอชไอวีจะกลายเป็นโรคเอดส์

เชื้อเอชไอวีนั้น สามารถส่งผ่านเชื้อไวรัสเอขไอวีได้มากที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์ผ่านสารหลั่ง นอกจากนี้ยังสามารถส่งต่อผ่านเข็มฉีดยา และจากมารดาสู่ลูกในครรภ์ได้ด้วย โดยการติดเชื้อจะมีด้วยกัน 3 ระยะ

  • ระยะเฉียบพลัน เป็นระยะแรกหลังรับเชื้อประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด
  • ระยะอาการ ระยะนี้เชื้อยังคงอยู่ในร่างกายแต่มักไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามในระยะนี้ยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวีให้กับผู้อื่นได้ด้วย
  • ระยะเอดส์ กว่าจะถึงระยะนี้ได้แสดงว่าผู้ป่วยไม่เคยได้รับการระงับการแพร่กระจายของไวรัสเชื้อเอชไอวีในร่างกายเลย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียระบบภูมิคุ้มกันโรค และจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้น และรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
อาการของโรคเอดส์

อาการของโรคเอดส์

  • ท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งสัปดาห์
  • อาการไข้ที่กลับมาเป็นซ้ำๆ
  • ปอดอักเสบ
  • สูญเสียความจำ อาการซึมเศร้าและอาการทางระบบประสาทอื่นๆ
  • เหนื่อยผิดปกติ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
  • มีผื่นตามผิวหนัง ในช่องปาก จมูกและเปลือกตา
  • แผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศและทวารหนัก
  • อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ

อาการของโรคเอดส์อาจเป็นอาการของโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคเอดส์ก็ได้ ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะรู้ว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ควรทำการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (HIV test)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเอดส์ 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเอดส์ที่เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายจนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือโรคติดเชื้อฉวยโอกาส  ดังนี้

  • ปอดบวม
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การติดเชื้อราที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อปาก ลิ้น หลอดอาหาร หรือช่องคลอด
  • การติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัสที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ระบบทางเดินอาหาร ปอด หรืออวัยวะอื่น ๆ
  • วัณโรค ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียอันตรายเรื้อรังที่ทำลายอวัยวะ โดยเฉพาะปอดและระบบทางเดินหายใจ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เสียชีวิตได้
  • โรคติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ (Infective Endocarditis)
  • โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) หรือโรคขี้แมว
  • สามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของผู้ป่วยได้อีกด้วย โดยจะทำให้มีอาการ เช่น สับสน มึนงง หลงลืม ซึมเศร้า วิตกกังวล มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือมีการแสดงออกทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกที่ลดลง

การรักษาโรคเอดส์

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อลดการเพิ่มจำนวนเอชไอวีให้มากที่สุด และเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันฟื้นตัว และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อและมะเร็งต่างๆ ที่เกิดจากผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งเป็นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี  ซึ่งยาต้านไวรัสเอชไอวี มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด เมื่อจำนวนเชื้อลดลง  ร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น  ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากสามารถทำงานและดำรงชีวิตตามปกติได้  และลดการเสียชีวิตจากโรคฉวยโอกาส การรักษาโรคเอดส์นั้นต้องกินยาให้ถูกต้อง ตรงเวลา และต่อเนื่องตลอดชีวิต เนื่องจากยาไม่สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีให้หมดไปจากร่างกายได้  ยาจะช่วยควบคุมจำนวนเชื้อให้มีน้อยที่สุด 

การป้องกันโรคเอดส์

การป้องกันโรคเอดส์

นอกจากการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมอาการ และป้องกันการพัฒนาโรคหลังได้รับเชื้อแล้ว วิธีการสำคัญในการป้องกันโรคเอดส์ คือ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวี หรือป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีไปยังบุคคลอื่น ดังนี้

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
  • การรับประทานยา PrEP เป็นการรับประทานยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย โดยต้องรับประทานยาทุกวันเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ
  • หากจำเป็นต้องใช้เข็มหรือเข็มฉีดยา ไม่ว่าจะเป็นการฉีดยา การสัก หรือการเจาะตามร่างกาย ต้องใช้เข็มที่สะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อ และไม่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น
  • หากมีแผลเปิดที่มีเลือดไหล ควรทำความสะอาดและปิดแผลให้สนิท
  • ตรวจเลือด หรือตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง
  • หากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีเชื้อเอชไอวี ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหรือรักษาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดจากการติดเชื้อเอชไอวี  แค้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ โดยการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพราะการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีสุขภาพดีและใช้ชีวิตได้ยาวนาน และการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ดีที่สุด คือ การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

Leave a Comment

Contact

Connect

Subscribe

Join our email list to receive the latest updates.

Add your form here