ด้วยค่านิยมของโลกตามขนบที่ถูกปลูกฝังความเชื่อว่าเพศชายต้องคู่กับเพศหญิงเสมอ ทั้งยังต้องรักกัน แต่งงานกัน และมีบุตรเพื่อสืบสกุลต่อไป
เป็นเรื่องดีที่การยอมรับเพศทางเลือกในสังคมไทยได้รับการสนันสนุนจากทั้งสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้คน โดยมีกลไกการนำเสนอข่าวสารในด้านดีของกลุ่มคน LGBT ทั้งเรื่องความรู้ ความสามารถ การสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ตลอดจนการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ การเปิดกว้างทางเพศไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในประเทศไทยของเราเท่านั้น ในต่างประเทศเองมีการร่างกฎหมายให้คนเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้อย่างอิสระ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ครอบครัว LGBT ค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่แล้วชาวเพศทางเลือกมักจะสร้างครอบครัวด้วย ‘การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม’ ถ้าเป็นครอบครัวชายรักชายจะใช้วิธี ‘การอุ้มบุญ’ เป็นการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยในการผสมสเปิร์มเข้ากับไข่ภายนอก แล้วนำไปฝากในครรภ์ของผู้หญิง ซึ่งการอุ้มบุญในประเทศไทยสามารถทำได้อย่างถูกกฎหมาย ส่วนครอบครัวหญิงรักหญิงจะใช้วิธีการ ‘รับบริจาคสเปิร์มจากธนาคารสเปิร์ม’ เพื่อนำสเปิร์มนั้นมาผสมกับไข่ของตนและทำการปฏิสนธิภายนอก
LGBT คือ
ผลที่ (ไม่) กระทบต่อเด็กในครอบครัว LGBT
เมื่อเพศทางเลือก ‘ไม่ใช่’ ความผิดปกติ
ในทางการแพทย์เพศทางเลือก เพศที่สาม หรือกลุ่มคน LGBT เป็นการผสมผสานที่ซับซ้อนขององค์ประกอบต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ถึงแม้ในทางเพศสภาพ (Gender) อาจไม่ได้มีคำว่า เพศที่สาม เพศทางเลือก หรือกลุ่มคน LGBT ปรากฏ แต่ทางสมาคมจิตวิทยาอเมริกันและในตำราพฤติกรรมผิดปกติ ก็ไม่ได้ระบุว่า LGBT คือความผิดแปลก แถมแพทย์ก็ไม่ถือว่าเพศที่มีความแตกต่างทางรสนิยมและการแสดงออก จะเป็นผู้ที่มีความผิดปกติแต่อย่างใด การที่กลุ่มคน LGBT มีความหลากหลายและมีอัตลักษณ์ทางเพศที่ไม่เหมือนกับเพศชายและเพศหญิง แพทย์ได้ให้คำอธิบายว่าเกิดจากความเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกของยีน (Gene) ซึ่งเกิดจากกระบวนการอื่นๆ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลง DNA หรือที่ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เรียกว่า ‘เอพิเจเนติกส์ (Epigenetics)’ พูดง่ายๆ ก็คือในบางครั้งธรรมชาติก็ส่งต่อความเป็นเพศจากพ่อสู่ลูกสาว จากแม่สู่ลูกชาย ทำให้ลูกสาวมีความเป็นชายสูงและลูกชายมีความเป็นสาวสูง ความหลากหลายทางเพศไม่เพียงแต่จะเกิดจากฮอร์โมนธรรมชาติเท่านั้น แต่การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมก็ล้วนมีผลต่ออัตลักษณ์ทางเพศที่แสนอัศจรรย์ของ LGBT อีกด้วย
จะทำอย่างไรเมื่อลูกเป็น LGBT
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกครอบครัวที่พ่อแม่จะสามารถยอมรับความพิเศษของ LGBT ได้ พ่อแม่หลายคนอาจไม่ทันตั้งตัว และไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้มาก่อน แต่ต้องยอมรับว่าสถาบันครอบครัวเป็นผู้บ่มเพาะเพศทางเลือกที่แสนวิเศษ ซึ่งพ่อและแม่ควรยอมรับในตัวตนที่แท้จริงของลูก การเป็น LGBT ไม่ได้ผิดมหันต์หรือเลวร้ายอย่างกับอาชญากรที่ก่อปัญหาให้กับสังคม นักจิตวิทยาให้ความเห็นว่าในกรณีที่พ่อและแม่ไม่สามารถยอมรับพฤติกรรมของลูกได้ สิ่งที่ตามมาคือปัญหาที่ยากเกินแก้และสายสัมพันธ์รักภายในครอบครัวที่ค่อยๆ หย่อนยานลง พ่อและแม่บางคนที่ไม่พอใจในการแสดงออกทางเพศของลูก อาจบังคับหรือทำร้ายร่างกายเด็ก ซึ่งมันจะส่งผลเสียต่ออารมณ์ สุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตของเด็กอย่างไม่ต้องสงสัย ยิ่งไปว่านั้นเมื่อลูกได้รับรู้ถึงเจตนาของพ่อแม่ที่จ้องจะทำร้ายพวกเขา ลูกจะสร้างเกราะป้องกันตัวเองที่เรียกว่า ‘พฤติกรรมปิดบัง’ โดยจะแสร้งทำตัวเป็นอีกบุคลิกหนึ่ง เพื่อปกปิดตัวตนที่แท้จริง ในทางตรงกันข้ามการที่ยอมรับพฤติกรรม หรือความเป็น LGBT ของลูก จะช่วยทำให้ลูกของคุณดำเนินชีวิตด้วยความสุข มีวุฒิภาวะ ทั้งยังทำให้ลูกมีความภาคภูมิใจในตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาเอกลักษณ์ทางเพศในเชิงบวกอีกด้วย
ขอบคุณ ข่าวจาก https://www.tipsdd.com/family/happy-family-ครอบครัว-lgbt-ก็มีความสุขไ/