เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ศาลฎีกาไต้หวัน มีคำวินิจฉัยว่า กฎหมายในปัจจุบันที่ขัดขวางการสมรสของคนเพศเดียวกัน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และละเมิดต่อสิทธิของพลเมืองในเรื่องความเท่าเทียม
และสั่งให้รัฐสภาใช้เวลาร่างกฎหมายใหม่ภายใน 2 ปี แต่ ในไทย กฎหมายที่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “กฎหมายคู่ชีวิต” ยังอยู่เพียงขั้น “ยกร่าง” ซึ่งยังไม่เห็นเกิดเป็น “รูปธรรม” สักที
ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า นก ยลดา โคมกลอง อดีตนางงามสาวประเภทสอง นักต่อสู้เพื่อหลากหลายทางเพศ เกย์หาคู่
และ เข้าร่วมผลักดัน กม.แต่งงานเพศเดียวกันในไทย ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงกรณี หนุ่มเชื่อน เคโอติก หรือ ภัทรดนัย เสตสุวรรณ กับเพื่อนชาย หนุ่มหมีหนวดตาน้ำข้าว ที่ชาวเน็ตหลายคนเดาว่าน่าจะเป็นหวานใจของหนุ่มเขื่อน แน่ๆ
“เดี๋ยวนี้เพศไม่ใช่อุปสรรคของความรักอีกแล้ว เรื่อง เขื่อน เคโอติก กับเพื่อนชายเขา ตนไม่ได้มองว่าเขาเปิดตัวนะ เพราะเขาเปิดตัวมานานแล้ว เพียงแต่เขาไม่ได้บอกอย่างเป็นทางการ ซึ่งตนก็เชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่จะยอมรับเรื่องเหล่านี้มากขึ้น”
ขณะที่กระแสข่าวเรื่องแบบนี้ เช่น เบน ชลาทิศ อ๊อฟ ปองศักดิ์ ก็จะมีคนพูดถึงเยอะ ทำให้เรากลับมาทบทวน เรื่องที่เราผลักดันในไทย เรื่องกฎหมายที่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “กฎหมายคู่ชีวิต” ซึ่งอย่าทำเหมือนมือถือสากปากถือศีลเลย
เพราะที่ผ่านมาก็มีหลายๆ ท่าน ออกมาพูดว่า ยอมรับได้ เราเท่าเทียมกัน แต่ก็ไม่ผ่านกฎหมายสักที ขณะที่สังคมส่วนก็ยังไม่ยอมรับ ทั้งๆ ที่ไทยเรามีการเรียนรู้ในเรื่องสุขภาพวะทางเพศ การดูแลสุขภาพ อนามัย การป้องกันโรคต่างๆ ดังนั้นอยากให้ขับเคลื่อน กันเร็วๆ ไม่ใช่แค่มีกระแสข่าว คนก็ออกมาพูดกัน”
ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ www.medhubnews.com รายงานอีกว่า กรณีที่ชาวเน็ตจำนวนมาก โพสต์วิจารณ์ข้อความในลักษณะเหยียดเพศ โดยนำเอากรณี หนุ่มเขื่อน กับหวานใจมาเป็นข้อหัวนั้น
จึงทำให้ได้ทราบว่า มุมมองในเรื่อง สิทธิ และความเสมอภาคของกลุ่มหลากหลายทางเพศ ของสังคมไทยอาจยังไม่ครอบคลุมในหลายมิติ มีมุมมองทางลบ เช่น คำว่า คู่รักนักขุดทอง คู่รักสายเหลือง ฯลฯ
ขณะที่ทีวีบางช่อง ห้ามคนที่ทำหน้าที่เป็น พิธีกร ต้องไม่ใช่ กะเทย และ เนื้อหารายการต้องไม่มีเพศทางเลือก ซึ่งสมัยนี้โลกเราไปไกลมาก บางช่องนำเสนอข่าวสาร และ รายการ ละคร เหมือนๆ ต่างประเทศ
เช่น ช่อง GMM 25 ที่มีเนื้อหาความเท่าเทียมทางเพศ ทำให้สังคมมองเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกพิสดาร แต่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องมากขึ้น”
ขอบคุณ ข่าวจาก https://board.postjung.com/1063427.html