ผลการศึกษาชี้ ปั่นจักรยานไม่บั่นทอนสุขภาพทางเพศชาย

//

lgbt Thai Team

beefhunt

ผลการศึกษาพบว่า การปั่นจักรยานไม่ได้ส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพทางเพศชาย หรือการทำงานของทางเดินทางปัสสาวะ

นักวิจัยได้เปรียบเทียบผู้ที่ปั่นจักรยาน กับผู้ที่วิ่งและว่ายน้ำ โดยพบว่าสุขภาพทางเพศและระบบทางเดินปัสสาวะของพวกเขาไม่ได้ด้อยไปกว่ากัน   เกย์โสด

Love2test

ผู้จัดทำรายงานชิ้นนี้ระบุว่า การค้นพบนี้ขัดแย้งกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า การปั่นจักรยานอาจส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพทางเพศของเพศชาย โดยพวกเขาเห็นว่าการปั่นจักรยาน ‘มีผลดีมากกว่าที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ’

‘ผลดีมหาศาล’

ผลการศึกษานี้ได้สำรวจผู้ปั่นจักรยานราว 2,774 คนจากสหราชอาณาจักร, สหรัฐฯ, แคนาดา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ผู้ที่ว่ายน้ำ 539 คน และผู้ที่วิ่ง 789 คน โดยตั้งคำถามหลายข้อที่เป็นตัวชี้วัดสุขภาพทางเพศและการทำงานของทางเดินปัสสาวะ

  • นักปั่นน่องเหล็กวัย 105 ปี
  • ชายหนุ่มหวังปั่นจักรยานกลับบ้านช่วงตรุษจีน แต่ปั่นไปผิดทาง 500 กม.

นักวิจัยระบุว่า สุขภาพทางเพศและการทำงานของทางเดินปัสสาวะของคนทั้ง 3 กลุ่มนี้ไม่ได้อ่อนด้อยไปกว่ากัน แม้ว่าผู้ปั่นจักรยานบางคนมีแนวโน้มที่เกิดการตีบตันของท่อปัสสาวะได้มากกว่า

นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ที่ปั่นจักรยานมาก ซึ่งในผลการศึกษานี้หมายถึงผู้ที่ปั่นจักรยานมานานกว่า 2 ปี และปั่นมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยปั่นเป็นระยะทางเฉลี่ยมากกว่า 25 ไมล์ (ประมาณ 40 กม.) ต่อวัน กับผู้ที่ปั่นจักรยานเพื่อสันทนาการ

ผู้เขียนผลการศึกษานี้ ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารเจอร์นัลออฟยูโรโลจี (Journal of Urology) ระบุว่า การค้นพบของพวกเขาขัดแย้งกับงานวิจัยก่อนหน้าที่ระบุว่าการปั่นจักรยานส่งผลกระทบทางลบต่อสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย และให้ข้อมูลด้วยว่า ผลการศึกษาดังกล่าวขาดการเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น และเป็นการศึกษาอย่างจำกัดเพียงกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก

เบนจามิน เบรเยอร์ แห่งแผนกทางเดินปัสสาวะของ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้จัดทำการวิจัยชิ้นนี้ ระบุว่า “การปั่นจักรยานให้ผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด และเป็นการออกกำลังที่ส่งผลกระทบไม่มากกับต่อข้อต่อต่าง ๆ ”

“การปั่นจักรยานอย่างปลอดภัยจะมีผลดีต่อสุขภาพอย่างมหาศาลกว่าความเสี่ยงที่จะได้รับ”

ในการศึกษาครั้งนี้ยังพบด้วยว่า ผู้ปั่นจักรยานมีโอกาสเกิดอาการชาที่อวัยวะเพศสูงกว่าผู้ที่วิ่งและว่ายน้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การลุกจากอานบ้าง ประมาณ 20% ของระยะเวลาที่ปั่นจักรยาน ก็จะลดโอกาสที่จะเกิดอาการเช่นนี้ลงอย่างมาก

ในอนาคตนักวิจัยต้องการศึกษาให้ละเอียดมากขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีอาการชาที่อวัยวะเพศ เพื่อดูว่าเป็นข้อบ่งชี้ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่

ขอบคุณ ข่าวจาก https://www.bbc.com/thai/international-42662655