11 ภาพยนตร์ LGBTQ ที่ทุกคนควรดู

//

lgbt Thai Team

beefhunt

เพื่อเป็นเกียรติให้กับ Pride Month เดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ ต่อไปนี้คือภาพยนตร์ LGBTQ ที่เข้าฉายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถูกเลือกสรรโดยนักเขียนของ GQ สหรัฐอเมริกา และเหล่าเซเลบริตี้คนพิเศษ

BPM

“BPM เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับวิกฤตการณ์โรคเอดส์จากปี 90’s ที่มีวิธีรับมือกับปัญหาเป็นการทำหมันที่น่าเศร้า ในการพยายามจะเข้าถึงความเจ็บปวดจากปัญหาที่เกิดขึ้น หนังเรื่องนี้สามารถลบล้างมนุษยชาติที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดออกไปได้เลย และไม่เหมือนกับ 120 BPM ซึ่งเป็นการตามนักกิจกรรมเกี่ยวกับโรคเอดส์ในปารีส พร้อมกับการนำเสนออีกหลายๆ แง่มุมของการติดเชื้อ แต่ในเรื่องของความอลหม่านวุ่นวายทางการเมือง และความเจ็บปวดที่ไม่อาจเข้าใจได้ภายในสังคม ยังคงมีที่ว่างพอสำหรับความรัก ความสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์ และความสนุกรวมอยู่ด้วย” – ทอม ฟิลิป (Tom Philip) GQ Entertainment Writer

Love2test

A Fantastic Woman

“อบอวลไปด้วยเนื้อหาที่เหมือนฝันที่จะช่วยทั้งบรรเทาความมืดมนของภาพยนตร์ และทั้งช่วยให้ภาพรวมทั้งหมดดูขัดแย้งกัน A Fantastic Woman เป็นการวิเคราะห์ความเศร้าโศก ความจงรักภักดี และวิธีใช้ชีวิตอยู่ต่อในขณะที่โลกทั้งใบกำลังเป็นปฏิปักษ์กับคุณ เนื้อเรื่องของหนังจะเกี่ยวกับเมื่อแฟนของมารีน่าเสียชีวิต ครอบครัวที่เขาทิ้งไว้ข้างหลังสร้างความอื้อฉาวให้กับความสัมพันธ์ของเธอซึ่งเป็นผู้หญิงข้ามเพศ (Trans Women) ครอบครัวของแฟนเธอไม่อนุญาตให้มารีน่าเห็นแม้กระทั่งศพและห้ามไม่ให้มาร่วมงานศพด้วย พวกเขาปฏิบัติต่อเธอเหมือนไม่ใช่มนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ในขณะที่เธอจัดการเรื่องการเดินทางของตัวเอง เติมเต็มไปด้วยความปรารถนาที่จะเป็นที่ยอมรับ เกลียดชังความอยุติธรรม โดยจะมีดนตรีที่ได้รับแรงบันดาลใจจากบัสบี้ เบิร์กลีย์ (Busby Berkley) ทั้งสว่างไสวและคอยหลอกหลอนในการแสดงสุดเร่าร้อนที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ของนักแสดง นักร้องโอเปร่าชาวชิลี ดาเนียล่า เวก้า (Daniela Vega) ผู้รับบทเป็นมารีน่า ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นทรานส์ (Trans) เช่นกัน เธอถูกเลือกให้เป็นที่ปรึกษาตั้งแต่แรก ก่อนที่ผู้กำกับ เซบาสเตียน เลลิโอ (Sebastian Lelio) จะตระหนักได้ว่าเธอเป็นเสียงให้กับภาพยนตร์ที่เขาต้องการมาตลอด” – เอมม่า สเตฟานสกี้ (Emma Stefansky) GQ Contributor       เกย์หาเพื่อน

Beach Rats

“ในฐานะแฟนหนังของเอลิซ่า ฮิตต์แมน (Eliza Hittman) มันค่อนข้างง่ายที่จะบ่นว่าภาพยนตร์นั้นไปๆ มาๆ ตามกระแส แต่บางทีผู้ชมอาจจะมองข้ามการเรียนรู้เรื่องเล่าเกี่ยวกับเกย์ทั่วๆ ไปแบบสมัยใหม่ ในเรื่องจะสื่อถึงการพยายามผลักดันอดีตที่เราต่างรู้อยู่แล้วว่าเป็นเรื่องจริง เสาะหาการปลอบประโลมในเว็บแชตต่างๆ และไม่เปิดเผยตัวตนกับประโยคขอนัดเจอที่ว่า “ได้โปรดออกมาพบผม” หมายความว่าวันหนึ่งมันจะกลายเป็นหนังสไตล์ Cult Classic อีกเรื่อง Beach Rats เป็นอะไรที่คุ้มค่าต่อการตกหลุมรัก มันทำออกมาได้ในแบบที่ให้สัญญาไว้ และทำออกมาได้ดีด้วย มันไม่ใช่เรื่องเล่าของเกย์ทุกคนและไม่จำเป็นว่าต้องใช่ด้วย อีกอย่างหนึ่ง แฮร์ริส ดิกคินสัน (Harris Dickinson) ใช้เวลาไปกับหน้าจอเสียส่วนใหญ่ และส่วนอื่นจะเป็นการพูดอู้อี้และการแสดงความเป็นชายออกมา” – เบรนแนน คาร์ลีย์ (Brennan Carley) GQ Entertainment Associate

Spa Night

“ภาพยนตร์ Spa Night ของแอนดรูว์ อาห์น (Andrew Ahn) ไม่ได้มีความแปลกประหลาดหักมุมใดๆ มันเป็นเรื่องของการรู้สึกตัวทางเพศที่เล่าเรื่องแบบไม่อ้อมค้อม เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มที่ทำงานอยู่ที่สปาสไตล์เกาหลี และในความธรรมดาสามัญ ความเรียบง่ายทำให้เราสัมผัสได้ถึงความเงียบที่สมจริง ซึ่งฮอลลีวูดชอบที่จะละทิ้งตรงนี้ไปหาอะไรที่เสียงดังและอ่อนไหวมากกว่า แต่ความเงียบอันยาวนาน และเสียงซาวนด์ของการขัดผิวที่ดังขึ้นมาเป็นครั้งคราว ยอมจำนนต่ออะไรบางอย่างที่เคลื่อนไหวอย่างแท้จริง Spa Night ไม่เคยออกไปไกลจากใจเลย (และเช่นกัน ไม่มีใครจะได้เห็นหนุ่มเอเชียใจกล้าบ้าบิ่นผู้ร่ำรวย นอกเสียจากว่าเขาจะได้ดู Spa Night)” – เควิน เหงียน (Kevin Nguyen) GQ Senior Editor

Carol

“ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ปล่อยแคมเปญผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อให้เคต บลันเชตต์ (Cate Blanchett) ชนะรางวัลออสการ์สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม Carol เป็นภาพยนตร์ดราม่าล้ำลึกที่ทำเพื่อเป็นเกียรติให้กับสองคาแร็กเตอร์ที่ถูกนำมาทำให้มีชีวิตโดยเคต บลันเชตต์ และรูนีย์ มาร่า (Rooney Mara) ในการที่จะเรียกเรื่องนี้ว่าเป็นหนังโรแมนติก “รักต้องห้าม” ก็อาจจะมากเกินไปหน่อย แต่ Carol ก็ห่างไกลจากคำว่าสุขุมไกลโขเลย ในขณะที่อารมณ์ความรู้สึกเริ่มจู่โจม มันก็ยังมีความรู้สึกละเอียดลออเกี่ยวกับความสนุกทะเล้นให้เห็นอยู่บ้าง การที่ถูกปฏิเสธจากทั้งการเสนอชื่อเข้าชิงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและผู้กำกับยอดเยี่ยม เป็นเหมือนสัญญาณให้ท็อดด์ เฮย์เนส (Todd Haynes) ว่านี่ไม่ใช่แค่เคต บลันเชตต์ และรูนีย์ มาร่า เท่านั้นที่รู้สึกเหมือนถูกปล้นในปี 2016″ – TC

Call Me By Your Name

“ในฐานะผู้ชายที่เป็นเกย์ นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเห็นความปรารถนาที่ผมยอมรับได้ทั้งหมดผ่านกล้องถ่ายทำ Call Me By Your Name โดดเด่นด้วยการแสดงอันน่าจดจำของทิโมธี ชาลาเมต์ (Timothée Chalamet) ภาพยนตร์สื่อถึงความดิบอย่างที่สุดและแท้จริง มันทำให้นึกถึงช่วงเวลาอันแสนสับสนและดีอกดีใจเมื่อมีใครสักคนคืบคลานเข้ามาสู่ใจและร่างกายของคุณแล้วก็ไม่ยอมออกไปสักที” – กิเดียน กลิค (Gideon Glick) นักแสดงจาก Ocean’s 8, The Detour

Moonlight

“ในขณะที่การรับรู้และการยอมรับของ LGBTQ ในกลุ่มคนผิวสีนั้นห่างไกลจากคำว่าเพียงพอและให้การสนับสนุน ผมรู้สึกว่าภาพยนตร์และความตั้งใจที่อยู่เบื้องหลังการบอกเล่าเรื่องนี้เป็นการก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้อง ผมเป็นเกียรติที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้” – บิลลี่ พอร์เตอร์ (Billy Porter) นักแสดงจาก Pose

The Handmaiden

“จนถึงทุกวันนี้เราไม่คิดว่าจะหลงใหลในเสน่ห์ของประสบการณ์การดูหนังในโรงภาพยนตร์จนได้ไปดูเรื่อง The Handmaiden กับเพื่อนมา มันเป็นภาพยนตร์ที่อยู่ในลิสต์หนังที่ฉันไม่คิดว่าจะดูได้อีกครั้งข้างๆ กับ Gone Girl เพราะครั้งแรกนั้นน่าตื่นเต้นมาก ดูเหมือนว่ามันจะมีคำวิจารณ์กับฉากเซ็กส์ของคู่เลสเบี้ยน ตัวภาพยนตร์ค่อนข้างมากเกินไปและอุกอาจ ฉันรู้สึกว่านั่นแหละที่เป็นประเด็น The Handmaiden ใส่ความชวนมองและน่าสนใจของการเปลี่ยนเซตติ้งของหนังสือ Fingersmith ของซาราห์ วอเตอร์ (Sarah Water) จากยุควิกตอเรียนอังกฤษไปจนถึงยุคที่เกาหลีอยู่ใต้การปกครองของญี่ปุ่น และการแสดงช่วงสุดท้ายประกอบไปด้วยการผลัดเปลี่ยนกันหลายครั้งมากจนยากที่จะติดตามได้ทัน เช่นเดียวกับปลาหมึกยักษ์ที่น่ากลัวนั่นด้วย” – ES

The Kids Are All Right

“ภาพยนตร์ที่ “เลสเบี้ยนมีอะไรกับผู้ชายเพื่อจะดูว่าเธอพลาดอะไรไป” การเปรียบเทียบแบบนี้อาจจะไม่เป็นที่ชื่นชอบต่อชาว LGBTQ ในทุกวันนี้เท่าใดนัก แต่ระดับของการถ่ายทอดอารมณ์และความละเมียดละไมในการบอกเล่าเรื่องราวใน The Kids Are All Right ให้การวิเคราะห์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเปรียบเทียบที่เป็นไปในทางเห็นอกเห็นใจมากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้หญิงสองคนที่เป็นคุณแม่ในฝัน ที่รับบทโดยจูเลียน มัวร์ (Julianne Moore) และแอนเน็ต เบ็นนิ่ง (Annette Bening) และกุญแจสำคัญของเรื่องนี้ก็คือมาร์ค รัฟฟาโร่ (Mark Ruffalo) นั่นเอง” – ES

The Danish Girl

“มันอาจจะมีเรื่องที่ไม่ค่อยน่าสบายใจจากการที่หนังเรื่องนี้สามารถยกย่องคู่รักในชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี และการเลือกนักแสดงนำชายอย่างเอ็ดดี้ เรดเมน (Eddie Redmayne) มาเป็นหญิงสาวข้ามเพศที่รู้สึกล้าสมัยนนั้นไม่สามารถปฏิเสธความชำนาญและความละเอียดของตัวหนังได้เลย มันบอกชัดเกี่ยวกับเรื่องราวของการยอมรับในสังคมที่ปราศจากความประนีประนอมกัน แต่หากมีการศึกษาลึกจนถึงการค้นพบตัวเองนี้มีความถูกต้องตามประวัติศาสตร์อยู่ด้วย เรื่องราวทั้งหมดนี้อาจไม่สามารถบอกให้ใครรู้ได้เลยเมื่อหลายปีก่อน” – TP

Tomboy

“ภาพยนตร์น้อยเรื่องมากๆ ที่จะทำเกี่ยวกับคอนเซ็ปต์ของ Gender Identity หรืออัตลักษณ์ทางเพศ มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่รู้จักตั้งคำถามซึ่งเป็นการแสดงถึงความใส่ใจ การเปิดเผยครั้งยิ่งใหญ่นั้นเหมือนเป็นการระเบิดและก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด แต่นี่เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับการเรียนรู้มากกว่าจะเป็นเรื่องดราม่า นี่เป็นเรื่องราวของลอร่า เด็กหญิงอายุ 10 ปี ที่ตัดสินใจจะเป็นผู้ชายในช่วงหน้าร้อนเพียงเพราะอยากจะลองดู บ่อยครั้งที่ภาพยนตร์แนว LGBTQ แทบทั้งหมดจะมีพื้นฐานของความเจ็บปวดมาจากความเป็นมนุษย์ของตัวละครที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ Tomboy มีความท้าทายก็คือในช่วงเวลาของการได้ชิดใกล้ แต่ไม่ได้ทิ้งอะไรเอาไว้นอกจากความคาดหวังในการตระหนักรู้ตัวตน” – TP

ขอบคุณ ข่าวจาก http://www.gqthailand.com/life/article/11-lgbtq-movies-everyone-should-see