“โรงเรียนญี่ปุ่น” ปฏิรูปชุดนักเรียน! ใช้เครื่องแบบ “Unisex” หนุนความหลากหลายทางเพศ

//

lgbt Thai Team

beefhunt

หลายโรงเรียนในญี่ปุ่น กำลังปฏิรูป “ชุดนักเรียน” ครั้งใหญ่ ด้วยการออกแบบให้มีความเป็น “Unisex” เพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ

ซึ่งเป็นการสนับสนุนสิทธินักเรียน LGBT (Lesbian, Gay, Bisexual และ Transgender) หลังจากยุคที่ผ่านมา “ชุดนักเรียน” ถูกออกแบบให้แบ่งแยกความเป็น “ชาย” และ “หญิง” อย่างชัดเจน โดยนักเรียนชาย ต้องใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว กับเน็กไท พร้อมสวมสูท และกางเกงขายาว หรือบางโรงเรียนเป็นเสื้อคอตั้ง – กางเกงสีน้ำเงินเข้ม ขณะที่นักเรียนหญิงเสื้อเชิ้ตสีขาว กับกระโปรง หรือเป็นเสื้อปกกะลาสี คู่กับกระโปรง

แต่ภายใต้ชุดนักเรียนที่เรียบร้อย ได้รับการออกแบบมาอย่างสวยงาม ปัจจุบันหลายโรงเรียนในญี่ปุ่นกลับมองว่า หากสามารถออกแบบชุดนักเรียนให้มีความเป็น “Unisex” จะช่วยลดความรู้สึกอึดอัดใจ หรือความทนทุกข์ของนักเรียน LGBT     เกย์ไลท์

Love2test

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา “โรงเรียนมัธยม Kashiwanoha” ในจังหวัดชิบะ เริ่มให้นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะใส่กระโปรง หรือกางเกง และผูกโบว์ หรือใส่เน็กไท กับเสื้อคลุมตัวนอกได้ตามที่นักเรียนต้องการ ซึ่งที่มาของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนดังกล่าว มาจากผลการประชุมคณะกรรมการครู – ผู้ปกครอง – นักเรียน ได้หารือกันต่อประเด็นนี้

ในที่สุดแล้วเกือบ 90% ของผู้ปกครอง และนักเรียน เห็นตรงกันว่า ควรให้นักเรียนได้มีอิสระในการเลือกเครื่องแต่งกาย เช่น นักเรียนหญิงควรได้รับอนุญาตให้ใส่กางเกงได้เช่นเดียวกันนักเรียนชาย เพราะนอกจากความคล่องตัวแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายอบอุ่นในช่วงฤดูหนาวอีกด้วย

“เราคิดว่าเป็นการดีที่ให้นักเรียนได้สวมใส่ในสิ่งที่เขารู้สึกสบายใจ และเป็นตัวเอง เพราะถ้านักเรียนรู้สึกอึดอัด หรือไม่สบายใจ เขาจะรู้สึกไม่อยากมาโรงเรียน โดยเราออกแบบชุดในโทนสีอ่อน และรูปแบบที่เหมาะสำหรับนักเรียนทุกคน” Koshin Taki รองอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยม Kashiwanoha เล่าถึงแนวความคิดของการปรับนโยบายเครื่องแต่งกายนักเรียน

ความเคลื่อนไหวของการปฏิรูป “ชุดนักเรียน” ครั้งนี้ เริ่มกระจายไปยังโรงเรียนต่างๆ ในญี่ปุ่น เช่นที่โรงเรียนมัธยมในฟุกุโอกะ เตรียมยกเลิกชุดนักเรียนชายแบบเสื้อคอตั้ง และชุดเสื้อปกกะลาสีของนักเรียนหญิง พร้อมเตรียมประกาศนโยบายใหม่ในปี 2019 ให้นักเรียนทุกคนสามารถ เลือกใส่กางเกง หรือกระโปรง

Anri Ishizaki หัวหน้ากลุ่ม FRENS องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อสนับสนุน LGBT ฉายภาพว่า การสวมใส่ชุดนักเรียนที่ระบุเพศชัดเจน (ชาย – หญิง) ทำให้กับนักเรียนที่ไม่อยากเปิดเผยตัวตนทางเพศ รู้สึกเป็นภาระ และไม่สบายใจที่จะใส่ จนทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน แม้เครื่องแบบไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้พวกเขารู้สึกทุกข์ทรมาน แต่ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่ใส่ติดตัวตลอดทั้งวัน ดังนั้น การเสนอทางเลือกในการแต่งกายชุดนักเรียน จะทำให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลายความรู้สึกอึดอัดได้

ทั้งนี้ ตามรายงานการสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology) เผยว่าในปี 2014 มีนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าขอคำปรึกษาภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง (Gender Dysphoria : GD) 606 ราย ทำให้ในปีต่อมา กระทรวงศึกษาธิการฯ กระตุ้นให้โรงเรียน สนับสนุน LGBT ทั้งการคำนึงถึงเครื่องแต่งกายนักเรียน ทรงผม และห้องน้ำ-ห้องอาบน้ำของนักเรียน

“Tombow Co.” บริษัทตัดเย็บชุดนักเรียนให้กับโรงเรียนมัธยม Kashiwanoha ต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน โดยหันมาผลิตชุดนักเรียน “Unisex” มากขึ้น หลังจากโรงเรียนสอบถามเข้ามา และเป็นช่วงเวลาเดียวกับกระทรวงศึกษาฯ ได้แจ้งนโยบายใหม่ของชุดนักเรียน

Ayumi Okuno ดีไซเนอร์ของ Tombow เล่าว่าจากการพูดคุยกับนักเรียน LGBT หลายคนไม่ต้องการสวมใส่ชุดนักเรียนที่บ่งบอกความแตกต่างชัดเจนของรูปร่างว่านี่คือ ชุดสำหรับผู้ชาย นี่คือชุดสำหรับผู้หญิง ดังนั้นเราพยายามออกแบบชุดไม่เน้นส่วนโค้งเว้าของสรีระผู้หญิง

อย่างไรก็ตาม Koshin Taki รองอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยม Kashiwanoha ย้ำว่าหลังจากเริ่มใช้นโยบายใหม่นี้ ยังคงต้องสังเกตปฏิกิริยาของนักเรียนด้วยเช่นกัน เพราะนักเรียนหญิงบางคน กลัวว่าถ้าใส่กางเกงแล้ว จะกลายเป็นที่ดึงดูดสายตาจากคนอื่น แต่เราหวังว่าจะช่วยนักเรียนได้เลือกในสิ่งที่เขาต้องการจะสวมใส่ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง

ขอบคุณ ข่าวจาก https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/japanese-school-reform-student-uniform-for-lgbt/