แนวทางปฏิบัติ เพื่อความเสมอภาค ส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

//

lgbt Thai Team

beefhunt

ความเสมอภาคและการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้น

กรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว จึงหยิบยกแนวทางเบื้องต้นในการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศในหน่วยงานที่คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (สทพ.) เห็นชอบ ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรหน่วยงานภาครัฐและเอกชนใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ     เกย์โสด
ที่มารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน
และมาตรา 27 กำหนดให้บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิ เสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้
พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้มีกฎหมายและมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากลตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเข้าเป็นภาคี สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
คำจำกัดความที่เกี่ยวข้อง
-การเลือกปฏิบัติ หมายถึง การกระทำหรือไม่กระทำการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
-การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ หมายถึง การกระทำหรือไม่กระทำการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือหญิง หรือมีการแสดงออกแตกต่างจากเพศใดโดยกำเนิด
-อัตลักษณ์ทางเพศ หมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคล หรือตัวตนของบุคคล ซึ่งรวมทั้งจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออกเกี่ยวกับลักษณะทางเพศสภาพ หรือเพศภาวะของบุคคล
-เพศโดยกำเนิด หมายถึง เพศซึ่งถูกระบุไว้แรกเกิด โดยใช้ลักษณะเพศทางสรีระ หรืออวัยวะเพศเป็นฐานกำหนด
-เพศสภาพ หรือเพศภาวะ หมายถึง การแสดงพฤติกรรม การปฏิบัติ หรือการแสดงบทบาทเพศของบุคคลซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับลักษณะเพศโดยกำเนิด
รายละเอียดข้อเสนอแนะ 6 ข้อ
1.การแต่งกาย
1.1 หน่วยงาน/สถาบันการศึกษา ควรให้สิทธิบุคลากร/นักศึกษา แต่งกายตามอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ หรือเพศภาวะของบุคคลนั้น ตามข้อบังคับของหน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษา
1.2 หน่วยงาน/สถาบันการศึกษา ไม่ควรออกประกาศ ระเบียบ กำหนดแนวปฏิบัติใด ๆ เกี่ยวกับการแต่งกายของบุคลากร นักศึกษา อันเป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมต่อบุคคลที่อัตลักษณ์เพศสภาพไม่ตรงเพศโดยกำเนิด
2.การจัดพื้นที่ที่เหมาะสม หน่วยงานควรจัดให้มีพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนของบุคคล อัตลักษณ์ทางเพศสภาพ หรือเพศภาวะของบุคคล และข้อจำกัดของบุคคลโดยการจัดให้มีพื้นที่ให้เหมาะสม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 หน่วยงานควรจัดให้มีห้องน้ำอย่างน้อย 1 ห้อง สำหรับให้คนทุกเพศสภาพ หรือทุกเพศภาวะ รวมถึงผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ นอกจากนี้ ควรมีการเพิ่มจำนวนห้องน้ำหญิงให้มีเพียงพอกับจำนวนผู้หญิงที่มีอยู่ในหน่วยงาน/องค์กร หรือที่เข้ามาใช้บริการในหน่วยงาน หรือองค์กร
2.2 หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่เฉพาะด้าน เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ด่านตรวจคนเข้าเมือง เรือนจำ ควรจัดให้มีพื้นที่เฉพาะและมีการปฏิบัติที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงอัตลักษณ์ทางเพศ เพศสภาพ/เพศภาวะ
3.ประกาศรับสมัครงาน-คุณสมบัติผู้สมัครงาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 การประกาศรับสมัครงานของหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน สามารถระบุคุณสมบัติเฉพาะด้านวุฒิการศึกษา หรือความสามารถเฉพาะที่สอดคล้องกับลักษณะงานได้
แต่ต้องไม่นำลักษณะเฉพาะทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศโดยกำเนิดหรือเพศสภาพ/เพศภาวะมากำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการประกาศรับสมัครงาน หรือมากำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครงาน ยกเว้นโดยลักษณะงานมีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเพศหรือมีความจำเป็นต้องใช้เพศใดเพศหนึ่ง
4.การใช้ถ้อยคำ ภาษา-กิริยาท่าทาง และเอกสารต่าง ๆ การใช้วาจาที่เชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ หรือเพศภาวะของบุคคล หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ควรให้ความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรเกี่ยวกับคำศัพท์ที่เหมาะสม และไม่เหมาะสมในการใช้เรียกอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ หรือเพศภาวะของบุคคล โดยให้ละเว้นการใช้คำศัพท์ที่ไม่เหมาะสมต่อไปนี้ต่อบุคคลแต่ละกลุ่มเฉพาะ
ตัวอย่างเช่น คำที่ไม่สมควรใช้กับกลุ่มบุคคลผู้มีความแตกต่างจากเพศโดยกำเนิด เช่น เบี่ยงเบนทางเพศ เพศที่สามผิดปกติ วิปริตผิดเพศ ตุ๊ด รักร่วมเพศ เก้งกวาง อีแอบ ไม้ป่าเดียวกัน เป็นต้น คำที่ไม่สมควรกับเพศหญิง เช่น ชะนี สาวแก่ อี แม่ใจยักษ์ เป็นต้น คำที่ไม่สมควรใช้กับเพศชาย เช่น ตุ๊ด นุ่งผ้าถุง แมงดา หน้าตัวเมีย เป็นต้น
นอกจากการใช้วาจาหรือถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมแล้ว การแสดงลักษณะทางกิริยาท่าทางของบุคคลที่เป็นการแสดงออกถึงการล้อเลียน ดูหมิ่นเหยียดหยามในความเป็นหญิงความเป็นชาย หรือเพศสภาพอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
5.การสรรหาคณะกรรมการ-ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ควรส่งเสริมการสรรหาบุคคลทั้งเพศชาย เพศหญิง หรือผู้มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด เข้าร่วมเป็นกรรมการในทุกระดับ ในสัดส่วนที่เหมาะสม
6.การป้องกันแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่ทำงาน การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน หรือเกี่ยวเนื่องจากการทำงานอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งชาย หญิง และบุคคลผู้มีการแสดงออกแตกต่างจากเพศโดยกำเนิด จากการกระทำของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ซึ่งละเมิดสิทธิส่วนตัวและสิทธิในการทำงาน ที่บุคคลควรได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
รวมทั้งขัดขวางโอกาสต่าง ๆ ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศโดยตรง
หน่วยงานต้องแสดงเจตนารมณ์ส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พร้อมจัดทำแนวทางปฏิบัติป้องกันและแก้ไขปัญหา กรณีต้องจัดการแก้ไขปัญหาให้ดำเนินการอย่างจริงจังโดยทันที ฯลฯ
โดยสามารถนำมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อ 16 มิถุนายน 2558 มาปรับใช้คุ้มครองสิทธิของบุคลากรในหน่วยงาน

 

ขอบคุณ ข่าวจาก https://www.prachachat.net/columns/news-240954