“แจ็คกี้” นักไตรกีฬาข้ามเพศคนแรกของประเทศไทยบทพิสูจน์ “ฉันไม่ได้มาล่าแต้มผู้”

//

lgbt Thai Team

beefhunt

ยุคของ LGBT มีพลังที่แข็งแกร่งขึ้น นั้นทำให้เราได้เห็นกลุ่มคนที่มีหัวใจตรงข้ามกับเพศสภาพแสดงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวออกมาอย่างเต็มที่

ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆเพื่อพิสูจน์ตัวเองอย่างหนัก หนึ่งในนั้นคือ “แจ็คกี้ ยุทธพงศ์ กุลอึ้ง” นักไตรกีฬาข้ามเพศคนแรกของประเทศไทย

แจ็คกี้ เกิดมาในครอบครัวช่างทำผมตั้งแต่รุ่นคุณยาย คุณแม่ พี่สาว และเธอก็เป็นลูกไม้ใต้ต้นที่เดินทางจากจังหวัดกาญจนบุรี มาเรียนทำผมในกรุงเทพมหานคร ชีวิตเพศที่สามของเธอก็เหมือนกับหลายๆคน ในเมื่อชอบความสวยความงาม ก็ขอลองประชันเวทีประกวดสักครั้ง เธอจึงเริ่มเดินสายประกวดนางงามตามเวทีต่างๆ   ข่าวเกย์

Love2test

แต่จุดเปลี่ยนให้ “สลัดมง  มาลงสายกีฬา” เมื่อวันที่มีหนุ่มมาจีบ

มีผู้ชายคนหนึ่งให้หนังสือพี่มา ก็แลกหนังสือกันไปกันมา เราก็แอบฝันเล็กๆ ผู้ชายให้หนังสือเราอ่าน จนมาเล่มที่ชื่อ “เย็นวันเสาร์ เช้าวันอาทิตย์” มันพูดถึงการวิ่งมาราธอน พอพี่อ่านแล้วแบบ โอย ฉันอยากวิ่งบ้าง  จนผ่านไปสัก 3-4 ปีก็เลยเริ่มวิ่ง เพราะมีลูกค้าคนนึงมาชวนไปวิ่งช่วยเหลืออุปกรณ์การแพทย์”

จากนั้นแจ็คกี้ก็ลุยไปทุกสนามตลอดช่วง7 ปี ไม่ว่าจะเป็น มินิฮาร์ฟมาราธอน ฮาร์ฟมาราธอน และความคิดที่จะก้าวต่อไปสู่สนามไตรกีฬาก็เริ่มขึ้น แจ็คกี้จึงไปขอแรงสนับสนุนความคิดนี้จากเพื่อนๆ แต่ปรากฏว่า

“พี่พูดกับเพื่อนที่เป็นกระเทยกลุ่มหนึ่งว่า ฉันมีความรู้สึกว่าฉันเล่นไตรกีฬา ได้ เพื่อนๆ ก็วี๊ดกันแบบ ไม่ๆๆๆๆๆ แค่มาราธอนนี่ก็เยอะมากแล้วทำไมจะเล่นไตรกีฬา มันเกินตุ๊ดไปไหม มันจะดูไม่สวย”  *หมายเหตุ ไตรกีฬาคือ การแข่งขัน ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน และวิ่งภายในระยะทางและระยะเวลาที่กำหนด

แต่เธอเลือกลุยต่อ…เริ่มลงไตรกีฬาแต่กลับต้องเจอสายตาที่มองว่า “เธอจะมาจับผู้ชาย”

ทุกคนตอนนั้นเขาก็มองแบบ เอาจริงๆ ก็ยังจำสายตาบางคู่ได้นะ คือ มันก็ไม่ได้ยอมรับมาก เราเข้าใจนะว่าเราเป็นกระเทย เขาอาจจะรู้สึกว่าเราเป็นสิ่งแปลกปลอมในไตรกีฬาเขาก็คงประเมินเราในระดับแรกว่า กระเทยคนนี้เล่นจริงเหรอ ตัวจริงหรือเปล่ามาจิกผู้ชายหรือเปล่า แต่ผ่านไปสักปี สายตาเหล่านั้นก็เริ่มเปลี่ยนไป”

เธอบอกว่าตอนนั้นเธอคิดว่า “เราเป็นนักกีฬาเราก็ต้องเป็นตัวจริงเหมือนกันนะ มาเล่นไตรกีฬาเพื่อมาหวังเก็บผู้ชาย นับแต้ม แต่ “ไม่!สักวันหนึ่งชั้นจะทำให้ทุกคนไม่คิดอย่างนั้น” และเพศสภาพไม่ใช่อุปสรรคสำหรับเธอ เพราะ…

“กีฬามันไม่ได้มีเพศและไตรกีฬามันมีกีฬาที่มีความลุ่มลึก แทคติก มีความเป็นศิลปะอยู่ในนั้นไม่ใช่เป็นกีฬาปะทะ หรือ เป็นเกม เป็นกีฬาที่เราอยู่กับตัวเองก็ได้ หรือเราออกกำลังกายก็ได้”

และเธอไม่เคยแคร์เลยเพราะเราเลือกเกิดไม่ได้

“เราเป็นกระเทยเพระว่าเราเป็น แต่เราเลือกได้ว่าเราจะเล่นไตรกีฬา แล้วกีฬามันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน สมัยก่อนที่แจ็คก็เป็นกระเทยแบบอยู่ตามดิสโก้เทค ดริ๊งก์อะไรแบบนี้ พี่มองว่าในมุมของนักกีฬา ในมุมของผู้ชายหรือโลกส่วนรวมแล้ว เขาก็มองว่าตุ๊ดข้างสนาม เต้นแรงเต้นกาข้างสนามพี่ว่าโลกมองแบบนั้นนะ แต่ไตรกีฬามันให้การวางแผนแล้วมันก็เปิดโลกที่มันมีทัศนคติเชิงบวกกับคนที่เขามองเรามาได้ดีขึ้น พี่แจ็ครู้สึกแบบนั้น”

จากนั้น แจ็คกี้ก็กลายเป็นนักกีฬาอย่างเต็มตัว แต่ความท้าทายเพื่อพิสูจน์ความเป็น “ตัวจริง” ของเธอไม่จบแค่นั้น เมื่อไตรกีฬา ยังมี “ไตรกีฬาคนเหล็ก” หรือในวงการเรียกว่า “ไอรอนแมน” เป็นการแข่งขัน ว่ายน้ำ 3.86กิโลเมตร ขี่จักรยาน 180.25 กิโลเมตร และวิ่งมาราธอน42.2 กิโลเมตร ซึ่งจะแข่งขันแบบต่อเนื่องไม่หยุดพักภาย 17ชั่วโมง ซึ่งตอนนั้นเธอมองว่ามัน “เกินฝัน”

“แล้วเราแบบเป็นตุ๊ด แล้วไอรอนแมนคืออะไร จะต้องซ้อมอย่างไร จนมีพี่คนหนึ่งบิวท์ ว่าจะเป็นกระเทยไตรกีฬาคนแรกของประเทศไทย คนแรกของเอเชีย หรือว่าของโลกด้วยถ้าจบระยะไอรอนแมน พี่ก็เลยเริ่มมีแรงบันดาลใจ”

จากนั้นแผนการซ้อมก็เริ่มต้นขึ้น ช่วง ปี 2015 พี่ก็เริ่มพัฒนาทักษะ เริ่มวิ่ง 100 กิโลเมตร เริ่มเล่นไตรกีฬาอย่างเป็นระบบระเบียบ มีโค้ช เริ่มลงไตรกีฬาเพื่อให้รู้ว่าจะต้องวางแผนอย่างไร เริ่มเก็บเงิน เตรียมสภาพร่างกาย เวทเทรนนิ่ง ซ้อมแบบนั้นอยู่ 5 เดือนเต็มๆ ควบคู่ไปกับอาชีพช่างทำผม แต่งหน้า แต่มันคือความรับผิดชอบของเรา ถ้าเราอยากเป็นไอรอนแมนเราต้องทำได้

แต่มันก็มีจุดที่เธอเกือบ “พลาดเพราะเรื่องที่คาดไม่ถึง”ซึ่งเธอตั้งชื่อว่า “เหตุการณ์ชิป(เครื่องวัดระยะการแข่งขัน) หาย” ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ประเทศเกาหลีใต้

“นักไตรกีฬาจะมีชิปจับเวลาที่ข้อเท้าพอขึ้นมาจากว่ายน้ำ ต้องถอดเว็ทสูทเพื่อไม่ร่างกายหนาวเกินไปมาเปลี่ยนชุดแล้วในทรานซิชัน แล้วมีรุ่นพี่ถามว่าจะเข้าห้องผู้ชายหรือผู้หญิง เราก็อึ้งไปสักพัก ถ้าเข้าห้องผู้หญิงก็ยังไม่ได้แปลงเพศ ก็กลัวผู้หญิงเขินเรา แม้สภาพใจเป็นผู้หญิง ก็เลยเลือกห้องผู้ชายพอเราเข้าไปในทรานซิชันที่ทุกคนแก้ผ้าหมดเลย พี่เตรียมผ้าถุงไปแล้ว ด้วยความที่เราตื่นเต้น ก็ลืมถอดชิปที่ติดอยู่ในเว็ทสูทที่มันรัดรูปอยู่นานมาก พอออกไปปั่นจักรยาน ซึ่งวันนั้นทำได้ดีมาก ปรากฏว่าผลไม่ขึ้นในแทรคเกอร์เลย ตอนนั้นอุทาน แบบ อี_อก ชิปหาย มันหายไปได้อย่างไร ก็แบบพยายามตั้งสติ แล้วรวบรวมสมาธิ บอกตัวเองซ้อมมา 5 เดือน ตอนนั้นตีกันหมดเลย ปรากฏชิปมันไปแขวนอยู่ที่ถุงเปลี่ยนชิปของพี่ ตอนนั้นคิดว่าเราจะไปต่อหรือพอแค่นี้ ถามตัวเองเรามาเพื่อแข่ง เราเป็นนักกีฬานะ เราจะยอมเหรอ “ถ้าเราจะเป็นไอรอนแมนต้องมาจากใจเราแหละ เราจะเป็นไอรอนแมนใจเราต้องไปให้ได้ ก็เป็นบทเรียนสำคัญของไตรกีฬาที่มันสอนในชีวิตจริง ว่า ถ้ามันเกิดเหตุดาณ์ที่ไม่คาดฝันสมาธิ สติ สำคัญมากๆ มันมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทุกครั้ง”

 หากถามว่าไตรกีฬาให้อะไรกับเธอบ้าง นอกเหนือจากร่างกายที่แข็งแกร่ง สิ่งที่ได้ คือ

ให้ความแข็งแรง ให้จิตใจที่เข้มแข็งขึ้น บางครั้งรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นซูเปอร์ฮีโร่กระเทยมาก คือพี่แจ็คที่จะว่ายน้ำ 10 กิโลเมตร ปั่นจักรยานเป็น 1000 กิโลเมตร วิ่งเป็น 100 กิโลเมตรได้ ซึ่งถ้ามีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเช่น เรือล่ม หรือ อาจจะมีใครสักคนขมน้ำ พี่แจ๊คสามารถลงไปช่วยเขาได้”

เธอทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า…

“การที่เราทำอะไรสักอย่างบนโลกไม่มีอะไรทำออกมาแล้วง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเป็นกระเทย การเป็นไตรกีฬาการวิ่งมาราธอน การเป็นช่างทำผมแต่งหน้า การทำอะไรดีๆ แล้วมันส่งมอบคุณค่า พี่ว่ามันเป็นสิ่งที่ยากมาก แล้วพี่มองว่า ถ้าเราทำได้ มันจะเป็นการส่งต่อแรงบันดาลใจ แรงผลักดันชีวิตของคนอีกเยอะมาก” 

เธอเชื่อว่า “สังคมในอนาคตคนก็จะเปิดรับเรามากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับว่าที่อยู่กับการวางตัวของเราด้วย การที่เราเป็นกระเทย สังคมประเมินเราว่าอ่อนแอแล้วแหละในระดับหนึ่ง เป็นคนที่ใช่ไม่ได้แล้วแหละ อย่างที่เจอมา แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่ากระเทยแต่คนเราจะไปให้สุดทางในทางไหนแค่นั้นเอง”

เมื่อโลกหมุนมาในจุดที่การกีดกันทางเพศเป็นเรื่องที่ไม่น่ายอมรับ สังคมเปิดโอกาสกว้างขึ้น เราจะได้เห็นคนกลุ่มที่ออกมาแสดงพลังและศักยภาพของพวกเขาที่เคยซ่อนอยู่มากขึ้นอย่างแน่นอน

ขอบคุณ ข่าวจาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/103203