“เพศที่สาม” เหยื่อความรุนแรงจากอคติสังคม

//

lgbt Thai Team

beefhunt

ทีมล่าความจริง

ปัญหาความรุนแรง การทำร้ายร่างกาย รวมทั้งการดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่อบุคคลข้ามเพศ อย่างเช่นคดีที่เพิ่งเกิดขึ้น

คือการที่สาวทอมคนหนึ่ง อายุ 28 ปี ถูกอุ้มฆ่าโบกปูนฝังอำพรางคดีอย่างโหดเหี้ยม เพียงเพราะไปติดพันหญิงใกล้ชิดของคนมีสี สะท้อนว่าปัญหาความรู้สึกทางลบที่มีต่อบุคคลเพศที่สาม หรือบุคคลข้ามเพศของสังคมไทย ยังเป็นทัศนคติอันตราย ส่งผลให้มีความรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจที่กระทำต่อคนกลุ่มนี้บ่อยครั้ง แม้ว่าในสังคมโลกจะตื่นตัวและให้ความสำคัญอย่างมากก็ตาม

“เพศที่สาม” เหยื่อความรุนแรงจากอคติสังคม

Love2test

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม ที่เป็นผลมาจากการมีอคติทางเพศ ต่อบุคคลที่เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ที่ไม่ว่าจะเป็นทั้ง เกย์ บุคคลข้ามเพศทั้งชายและหญิง ทอม ดี้ หรือแม้แต่เลสเบี้ยน ที่แม้ดูเหมือนว่าสังคมในปัจจุบัน จะเหมือนกับเปิดใจยอมรับกลุ่มคนเหล่านี้แล้วก็ตาม แต่ว่าก็ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังมองว่า คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ไม่ปกติ เพราะไม่ใช่ชายจริงหญิงแท้ หรือมีรสนิยมทางเพศที่แตกต่างจากคนทั่วไป จนถูกสังคมมองและตรีตราว่า นี่คือสิ่งผิดปกติ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่อทรัพย์สินหรือชีวิตของคนกลุ่มนี้ ก็มักจะจบลงด้วยการกระทำที่รุนแรง ที่อาจแผงด้วยความเกลียดชังส่วนตัว หรือแม้แต่การแสดงความเห็นบนสังคมออนไลน์ที่ใช้ถ้อยคำดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพียงเพราะคนกลุ่มนี้ไม่ใช่บุคคลที่มีรสนิยมตรงตามเพศกำเนิด    เกย์หาเพื่อน

เช่นกรณีของคดีฆ่าอำพรางศพ นางสาวสุภัคสรณ์ พลไธสง หรือ น้องหญิง ที่กลายเป็นข่าวโด่งดังถึงความโหดเหี้ยมของผู้ที่ลงมือกระทำ ซึ่งแม้ว่าคดีความดังกล่าวจะยังไม่สิ้นสุดแล้วมีการตัดสินว่า ผู้ที่ทำร้ายน้องหญิงจนเสียชีวิตมีเจตนาทำร้ายเพราะเป็นกรณีเรื่องชู้สาว หรือว่าทำร้ายเพราะมีเหตุผลด้านเพศภาพที่น้องหญิงคือกลุ่มหญิงรักหญิงแฝงด้วยหรือไม่ แต่ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยและประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ได้ให้ความเห็นถึงกรณีความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBT จากเหตุการณ์ลักพาตัวและฆาตกรรม พร้อมกระทำการเพื่ออำพรางศพดังกล่าวว่า และหลายๆ เหตุการณ์ที่ผ่านมาว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีคดีฆาตกรรมและใช้ความรุนแรงบนพื้นฐานแห่งอคติและความเกลียดชังต่อกลุ่มบุคคลเพศทางเลือก โดยเฉพาะกลุ่มหญิงรักหญิง ตามที่เป็นข่าวมีถึง 13 คดี ทั้งการทำร้ายร่างกายธรรมดาหรืถึงขั้นเสียชีวิต รวมทั้งอีกหลายกรณีที่ไม่เป็นข่าวอีกด้วย ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากสภาพสังคมที่ยังกระทำต่อกลุ่มที่คนมีความหลากหลายทางเพศเหล่านี้อย่างไร้ความเท่าเทียมต่อความเป็นมนุษย์คนนึง

แม้การกระทำต่อร่างกายของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิง หรือต่อบุคคลข้ามเพศนั้น เป็นการกระทำที่ชัดเจนถึงการคุมคามความปลอดภัย แต่การคุกคามด้วยคำพูดเองก็ถือเป็นการลดทอนความเท่าเทียมทางเพศต่อความเป็นมนุษย์เช่นกัน ทั้งวาทกรรมการแก้ทอมซ่อมดี้ หรือเปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ ที่ผู้ชายมักคิดว่าการระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ใช้ความเป็นชายเพื่อเปลี่ยนแปลงรสนิยมทางเพศของผู้หญิง ซึ่งถือเป็นทัศนคติที่อันตรายต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งในเรื่องของการคุกคามศักดิ์ศรีความเท่าเทียมทางเพศจนนำไปสู่คดีความต่างๆ นั้น ที่ผ่านมาประเทศไทยยังอาจจะไม่มีความเข้าใจประเด็นที่อ่อนไหวนี้ในการดำเนินคดี ซึ่งอาจจะต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สืบสวนที่อาจต้องมีความเข้าใจความแตกต่างทางเพศสภาพของผู้เสียหายอย่างถูกต้องเช่นกัน

แม้ประเทศไทยจะมีพันธกรณีทั้งในระดับประเทศและต่อกลไกกฎหมายระหว่างประเทศในการปกป้องพลเมืองจากการบังคับสูญหาย การซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ การกระทำความรุนแรงต่อสตรี และบุคคลหลากหลายทางเพศ รวมทั้งยังขาดการตีความประเด็นการละเมิดการกระทำรุนแรงด้วยเหตุแห่งความเกลียดชังทางเพศ หรือ โฟเบีย ซึ่งปัญหานี้กลายเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังหาทางออก และให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะถือเป็นเรื่องของความเท่าเทียมในระดับสิทธิมนุษยชนเช่นกัน ส่วนประเทศไทยนั้น ก็อาจถึงเวลาที่ต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้เช่นกัน

ขอบคุณ ข่าวจาก http://www.now26.tv/view/98335