มองผ่านเลนส์เรื่องเพศ ‘เจ็บ’ กว่าที่คิด

//

lgbt Thai Team

beefhunt

“รู้ไหมคะว่าเด็กบางคน ที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศ แล้วเขาอาจมีภาวะ Trauma ติดมาจนโต แต่ผู้ให้การเยียวยาหรือทำงานด้านสังคมบ้านเรามีความรู้เรื่องนี้น้อยมาก ซึ่ง Trauma มันคืออาการที่ความบาดเจ็บภายใน จากการได้รับความกระทบกระเทือนใจรุนแรง พอเด็กบางคนถูกข่มขืนแล้วก็มาถึงมือ กลับไม่เข้าใจพฤติกรรมเด็ก ก็ไปตีตราเด็ก มองว่าเด็กติดเซ็กส์ แต่ความจริงคืออาจเกิดจากผลกระทบ ของการถูกระทำ”

เสียงจาก ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเพศหญิงและความเป็นธรรมทางเพศ บอกเล่าถึงปมปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและนำมาสู่การทำงานสร้างความเข้าใจด้านเพศของ “Gender and Diversity Lens” อีกหนึ่งหมุดหมายของการทำงานของแผนงานสุขภาวะ เพศหญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ภายใต้สมาคมเพศวิถีศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)      เกย์กรุงเทพ

Love2test

ความคาดหวังของโครงการนี้คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศ และสร้างภาวะทางสังคมใหม่ที่เอื้อให้บุคคลเพศต่าง ๆ ซึ่งเป็นสมาชิกในสังคมไทย สามารถเข้าถึงโอกาส บริการ และสวัสดิการในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ผ่านการสร้างการรับรู้และให้ความรู้ความเข้าใจถึงความแตกต่างเรื่องเพศ แก่คนทำงานระดับผู้ให้บริการและทุกคนในสังคม

แม้ปัญหาสังคมทุกวันนี้จะมี หลากหลายปัญหาที่สร้างความเหลื่อมล้ำหรือไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็น สิ่งแวดล้อม การเมือง สิทธิของคนชายขอบ คนไร้บ้าน ชนกลุ่มน้อย หรือว่าคนพิการ แต่ในทุกปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเอง อาจยังมีอีก ความเหลื่อมล้ำที่ทับซ้อนหรือแอบซ่อนอยู่ นั่นก็คือ เรื่อง “เพศ”

“โครงการนี้ชื่อ Gender and Diversity Lens เป็นชื่อที่ สสส.ยกมาจากรายงานชิ้นหนึ่ง สิ่งที่เราทำคือการพยายามที่จะติดตั้งมุมมองในเรื่องเพศภาวะและความหลากหลาย ให้กับคนที่ทำงานในประเด็นสังคม ทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาสังคม ไปจนถึงเอ็นจีโอ (NGO) ที่เป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ ซึ่งบางครั้ง ก็อาจมองข้ามมิติเรื่อง “เพศ” ไปโดยไม่รู้ตัว” ดร.วราภรณ์ เล่าถึงแนวคิด

“หลักสูตรเราทำกับพยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ทั่วประเทศพันกว่าคน โดยพยายามทำความเข้าใจกับเขาเรื่องอำนาจ ว่าสังคมจัดวางอำนาจและสถานภาพแต่ละเพศที่ไม่เท่ากัน ตั้งแต่ ในบ้าน ในชุมชน ประเพณีวัฒนธรรม ระบบสาธารณสุข การเมือง ผู้หญิงและผู้ชายถูกจัดวางไว้ที่ไหน ทำให้เขาเริ่มมองเห็นและเข้าใจชัดขึ้น จากเมื่อก่อนที่เขาแค่อาจได้อ่านจากคู่มือ แต่เขาอาจไม่เข้าใจที่มาที่ไปของการใช้สิทธินั้น”

แม้เนื้อหาหลักสูตรนี้อาจจะเป็นแนวคิดที่ “ใหม่” สำหรับสังคมไทย แต่ด้วยความหวังที่จะจุดประกายความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

“จริงๆ ในประเทศที่เจริญแล้ว เขามีการบรรจุหลักสูตรเรื่องนี้กันนานแล้ว แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างฟิลิปปินส์ก็มีเรื่อง เพศภาวะเข้าไปอยู่ในระบบการศึกษา และทั้งในกลุ่มผู้พิพากษา เป็นหลายสิบปีมาแล้ว แต่บ้านเราทั้งในหลักสูตรของในสถานศึกษาคนทั่วไป หรือหน่วยงานให้บริการก็ไม่เคยมี หลักสูตรนี้ไม่เคยอยู่ในฝั่งสาธารณสุข ฝั่งสังคมสงเคราะห์หรือหน่วยงานรัฐ นี่เป็นเหตุผลทำไมอคติเรื่องเพศบ้านเราถึงยังมีเยอะและทำให้ผู้ให้บริการอาจไม่รู้ว่าควรจะรับมือกับปัญหาอย่างไร”

แม้ตัวเธอเองก็มีประสบการณ์จากที่เคยทำงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งครั้งแรก ไม่ได้มองแบ่งแยกว่าหญิงหรือชาย จึงปฏิบัติเหมือนกันหมด แต่พอได้ ลงไปทำงานลึกๆ กับกลุ่มนี้ กลับพบว่าผู้หญิงชาติพันธุ์เอง แม้จะโดนเหยียดเรื่องเชื้อชาติเหมือนกัน แต่กลับมีปัญหา ทับซ้อนที่แตกต่างกว่าผู้ชาย

ดร.วราภรณ์ยืนยันว่า ทุกคนสามารถร้องหา ความยุติธรรมให้ตัวเอง ในการที่จะได้รับการประกันและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานได้ ไม่ว่าบุคคนนั้น จะอยู่ใน “เพศภาวะ” (gender) หรือ “เพศวิถี” (sexuality) แบบไหนก็ตาม

“เพศภาวะที่ว่าหมายถึง ภาวะความเป็นหญิง ความเป็นชาย และความเป็น เพศอื่น ที่ถูกกำหนดและควบคุมด้วยเงื่อนไขทางสังคม ส่วน “เพศวิถี” หมายถึง ความคิด อารมณ์ความรู้สึก วิถีปฏิบัติ การกำหนดและแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ ตลอดจนวิถีชีวิตโดยรวมที่เกี่ยวโยงกับ เรื่องเพศ การมี(หรือไม่มี)คู่ ความสัมพันธ์ทางเพศ และสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ ที่ถูกกำหนดและควบคุมด้วยเงื่อนไขทางสังคมเช่นกัน”

ที่สำคัญ ยุคนี้ไม่ควรมีแค่ “หญิง” หรือ “ชาย” อย่างที่หลายคนคิด หากยังต้องมีเพศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเพศที่สามหรือเพศทางเลือกมาเกี่ยวพันด้วย

“เราอยากเชิญชวนให้คนทำงานเหล่านี้ มาเห็นมุมมองเรื่อง Gender และก็ Sexuality ทั้งผู้หญิงและคนข้ามเพศ เพราะที่ผ่านมาในหน่วยงานรัฐส่วนใหญ่แทบไม่ได้มีหลักสูตรหรือการอบรม ให้เจ้าหน้าที่มีความละเอียดอ่อน ความเข้าใจเรื่องในเรื่องนี้มากนัก”

ที่ผ่านมาโครงการได้นำหลักสูตรดังกล่าว เข้าไปอบรมในหน่วยงานให้บริการผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรง ทั้งฝั่งสาธารณสุข ยุติธรรม หรือองค์กรด้านสังคมหลายแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ต้องให้บริการด้านความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกระทำ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก ปัญหาต่างๆ

แต่บางครั้งวิกฤตศรัทธาต่อระบบ ให้บริการของผู้ที่ได้ชื่อว่าคนทำงานด้านสังคมก็อาจสั่นคลอน เพราะถูกละเลย กีดกัน หรือเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ด้วยเหตุผลเพราะเรื่องเพศ

“ในฐานะผู้ให้บริการ ถ้าคุณอยากให้บริการอย่างมีคุณภาพและเกิดความเป็นธรรมแท้จริงกับผู้รับบริการทุกกลุ่มทุกเพศ หากคุณไม่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ คุณก็อาจมี มุมมองหรือทัศนคติที่ไม่เข้าใจรากปัญหาอย่างแท้จริง เวลาที่ทำหน้าที่คุณก็อาจ มองข้าม เช่น หน่วยงานที่ให้บริการคนที่ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ แต่มีทัศนคติว่า การล่วงละเมิดทางเพศสาเหตุเกิดจาก ตัวผู้หญิงเองที่เป็นฝ่ายยินยอม ซึ่งตรงนี้มันคืออคติที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเพราะการอยู่ในสังคมชายเป็นใหญ่ที่เราถูกฝังความเชื่อเหล่านี้มายาวนาน”

อวยพร เขื่อนแก้ว ศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความเป็นธรรม วิทยากรของโครงการ ช่วยขุดเค้นรากเหง้าของปัญหา ให้เป็นภาพที่แจ่มชัดยิ่งขึ้นว่าบ่อยครั้งเวลาที่ผู้หญิงถูกทำร้ายกายหรือจิตใจ มักถูก มองว่าเป็นเพราะฝ่ายหญิงมีความบกพร่อง ถึงทำให้สามีจากไป หรือในกรณีที่ผู้หญิง ถูกข่มขืนหรือถูกสามีทำร้ายจะไม่ค่อยกล้ามาหาหมอตอนกลางวัน ก็เพราะความอับอายกลัวว่าจะโดนตีตรา

“สังเกตไหมเวลาที่ภรรยาถูกสามีทำร้าย คนรอบตัวก็จะไม่มีใครอยากยื่นมือเข้ามายุ่ง บางครั้งไปถึงมือเจ้าหน้าที่รัฐ ก็อาจจะมีการเจรจาไกล่เกลี่ย โดยที่ไม่ได้ดูเงื่อนไขว่า พอไกล่เกลี่ยแล้วเขาจะกลับไปอยู่กันได้ไหมหรือผู้หญิงปลอดภัยไหม บางครั้งผู้หญิงชัดเจนมากว่าเขาไม่อยากทน แต่เราทำให้เขากลับไปอยู่กับความรุนแรง ความไม่ปลอดภัย

“มีกรณีน้องผู้หญิงคนหนึ่งถูกสามีทำร้ายตอนท้อง พยาบาลที่รับเรื่องมาปรึกษาเรา เพราะน้องผู้หญิงทนไม่ไหว จริงๆ โชคดีที่พยาบาลรายนี้เคยเข้าอบรมกับโครงการเรามาก่อน จึงเข้าใจ ไม่งั้น เขาอาจตัดสินใจให้น้องคนนั้นกลับไปทนต่อ เพราะที่ผ่านมาเขาเคยแต่พยายามไกล่เกลี่ย หรือถ้าสมมติเด็กผู้หญิงท้องในวัยเรียน จะเป็นฝ่ายถูกผลักดันให้ออก ขณะที่ผู้ชายยังสามารถเรียนต่อได้ แต่โรงเรียนควร จะทำให้เด็กผู้หญิงได้เรียนต่อเพื่อที่จะได้มีความรู้ในการหางานทำเพื่อมาเลี้ยงลูกต่อ ดังนั้นรัฐควรมีระบบหรือมาตรการแล้วว่า กรณีแม่เลี้ยงเดี่ยวที่สามีทอดทิ้ง ควรมีสวัสดิการอะไรบ้าง ทั้งระบบมันควรไป ด้วยกัน”

ถามว่าเพราะอะไรสังคมถึงนิยมให้มีการไกล่เกลี่ย?

“ก็เพราะว่าสังคมเราถูกสอนไงว่า สังคมที่สมบูรณ์แบบต้องมีพ่อแม่ลูก เพราะฉะนั้นจะต้องไกล่เกลี่ยไม่ให้เลิกรากัน ไม่งั้นสถาบันครอบครัวจะล้มเหลว มันเป็นทัศนคติในสังคมไทย” อวยพรชี้เป้าตรงจุด

ด้าน ดร.วราภรณ์ อธิบายต่อว่า การเน้นที่โครงสร้างครอบครัวโดยอาจ ไม่ได้มองดูเนื้อใน หรือมองในกรอบคิดที่ว่า ในโครงสร้างที่ครบสมบูรณ์นั้นมันมีความปลอดภัยหรือไม่ มีความสุขไหมที่จะอยู่ร่วมกัน แล้วเด็กสามารถเติบโตมาอย่างมีคุณภาพหรือไม่ ฉะนั้นเวลาจัดระบบบริการก็ ไม่แปลกที่จะมองไม่เห็นว่าสังคมได้จัดแบ่งเรื่องนี้มาตลอด

“เมื่อมีความรุนแรงเขาไม่เห็นจากความไม่เท่า แล้วเขาไม่มีกลไกที่จะปิด ช่องโหว่ตรงนี้ เพราะเรื่องเหล่านี้อยู่ใน วิธีคิดของคนโดยรวม ไปจนถึงการวางแผนการให้บริการ ตั้งแต่ระดับนโยบาย ไปถึงทุกหน่วยงานให้บริการทุกระดับและทุกด้าน ซึ่งอันนี้เราเปรียบเทียบเฉพาะกรณีผู้หญิงผู้ชายนะ ยังไม่รวมถึงเพศกลุ่มอื่นๆ”

ดร.วราภรณ์ เอ่ยต่อว่า สำหรับในกลุ่มเพศที่สาม อย่างเช่นคนข้ามเพศเอง สิ่งแรกเราต้องลบอคติก่อนว่าเขาผิดปกติ

เธอเอ่ยว่าในการกดขี่คนๆ หนึ่งหรือ คนกลุ่มหนึ่งมีหลายด้าน เวลาทำงานอย่ามองมิติเดียว แต่เรื่องที่ขาดไปเยอะคือเรื่องเพศ การที่เราเน้นเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องที่คลี่ให้คนเห็นยากมาก เพราะอยู่ในวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ทุกคนมองว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ปัญหา อย่างความยากจนคนยังมองเห็นว่าเป็นเรื่องชนชั้น

“จริงๆ คนที่ถูกกดขี่หรือถูกกระทำส่วนใหญ่ไม่ได้โดนในมิติเดียว เช่นเป็นผู้หญิงชาติพันธุ์ที่มาขายบริการทางเพศแล้ว ติดเชื้อ HIV แล้วท้องกลับไปในชุมชน หรือคนข้ามเพศฐานะยากจนแต่กลายเป็น ผู้กระทำผิดกฎหมาย

อาจมองว่าส่วนใหญ่ที่เราพูดมา เป็นเรื่อง Gender กับ Sexuality แต่ในเรื่อง Diversity ความหลากหลายยังมีอีก ซึ่งหลักสูตรนี้จะครอบคลุมด้วย เพราะความ ไม่เป็นธรรมมันมีหลายเรื่อง เพราะใน คนหนึ่งคนสามารถเจอความไม่เป็นธรรม ที่ซ้อนทับในหลายมิติ เราต้องให้เขาเห็นความทับซ้อนของปัญหาเหล่านี้”

ขอบคุณ ข่าวจาก http://www.thaihealth.or.th/Content/43941-มองผ่านเลนส์เรื่องเพศ ‘เจ็บ’ กว่าที่คิด.html