คู่รักเกย์ จะซื้อสินทรัพย์ร่วมกัน ต้องทำยังไง?”

//

lgbt Thai Team

beefhunt

ในปัจจุบันนี้เกย์และกลุ่ม LGBT มีการเปิดเผย Lifestyle ของตัวเองมากขึ้น

เพื่อนๆผมหลายคนก็ประกาศตัว มีการบอกพ่อผม่และผองเพื่อนกันเยอะมากว่า “อิฉันเป็นตุ๊ดคร่าาาา มีแฟนเป็นผู้ชาย แอร้ยยยย” มีการลงหลักปักฐานกับแฟนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตร่วมกัน ไปมาหาสู่ กรุ๊บกริบ เก๋ไก๋ เช่าบ้านอยู่ด้วยกันแล้ว แต่พอถึงเวลาที่อยากจะมีทรัพย์สินเป็นของตัวเองนั้น ดูเหมือนว่าการทำธุรกรรมต่างๆเพื่อให้เป็นเจ้าของร่วมกันบางทีมันย๊ากยาก   เกย์หาคู่

วันนี้ก็เลยจะมาเล่าแนวทางเพื่อให้คู่รักเกย์สามารถซื้อทรัพย์สินอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนะจ๊ะ! 

  • หาธนาคารที่ปล่อยกู้ร่วมได้ : ถ้าลองไปสอบถามธนาคารในเรื่องของการของกู้ร่วม เขาจะบอกเลยว่าหากไม่ได้เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กันที่กฎหมายรับรองอย่างสามีภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือพ่อแม่พี่น้อง โอกาสของการให้สินเชื่อนั้นแทบจะไม่มีเลย แต่อย่าพึ่งท้อใจ หลายคนเคยไปคุยกับธนาคารบางแห่งที่มีแนวคิดทันสมัยที่เปิดโอกาสให้คู่รักเกย์ได้ขอกู้ร่วมได้ก็มี แต่เราจะต้องพิสูจน์ให้เขาเห็นว่าเป็นคู่รักจริง เช่น การแสดงหลักฐานว่าเคยเช่าบ้านอยู่ร่วมกันมานาน ถ้ามีหลักฐานที่มากพอธนาคารบางแห่งก็อาจจะพิจารณาให้กู้ร่วมได้นะ
  • ให้บริษัทที่ทำธุรกิจร่วมกันเป็นผู้ยื่นกู้ : คู่รักเกย์หลายๆคู่นอกจากจะรักกันแล้วยังเป็นหุ้นส่วนกิจการ มีการเปิดบริษัททำธุรกิจร่วมกันก็มี ทำไปทำมาบริษัทเติบโตมีรายได้ มีกำไรที่พอจะผ่อนซื้อทรัพย์สิน เราก็สามารถใช้บริษัทเป็นผู้ซื้อบ้านให้กับเราก็ได้ ถ้ามาในเส้นทางนี้ธนาคารก็จะพิจารณาเงินกู้จากตัวบริษัท ดีซะอีก บางคนซื้อบ้านหลังใหญ่โตทำข้างล่างเป็น Office ทำข้างบนเป็นที่อยู่ร่วมกันได้ หรือบางคนก็ใช้คอนโดเป็นสำนักงานบริษัทก็มี
  • ซื้อคนละห้องซะเลยแล้วเชื่อมห้องกัน : ในกรณีที่ทั้ง 2 คนมีเงินทั้งคู่ มีความสามารถในการผ่อนทั้งคู่ อยากเป็นเจ้าของทรัพย์สินของตัวเอง ก็ซื้อห้องที่มันติดกันแล้วเชื่อมให้เป็นห้องใหญ่เลยก็ได้ ทั้งคู่จะถือสัญญาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องของใครของมันในทางกฎหมาย แต่ในการอยู่ร่วมกันก็อยู่ในห้องเดียวกันนั่นล่ะ หากเลิกกันกลางทางแล้วมีคนหนึ่งขายห้องไป ก็โบกปูนแยกห้องออกจากกัน ง่ายๆจบเลย
จะเห็นได้ว่าวิธีการซื้อทรัพย์สินอยู่ร่วมกันก็มีหลากหลายวิธี แต่ต้องอย่าลืมไปว่าทรัพย์สินที่คู่รักเกย์ซื้อร่วมกันนั้น หากมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายไปก่อนแต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้กับอีกฝ่าย ก็อาจจะทำให้มรดกกลายเป็นของทายาทเขา อาจจะเกิดปัญหาในเรื่องของมรดกก็ได้ ก็ต้องอย่าลืมทำพินัยกรรมเอาไว้นะครับว่าจะยกทรัพย์สินให้ใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินตามกฎหมายจริงๆพินัยกรรมหากเจาะลึกจะมี 5 แบบนะครับต้องลองไปอ่านเพิ่มดู
แต่ขอเล่าสรุปหลักๆได้ 2 แบบ คือ 
  • พินัยกรรมที่ทำด้วยตัวเอง : ก็คือการเขียนพินัยกรรมเอาไว้ด้วยตัวเองว่า เราจะยกทรัพย์สินให้กับใคร ก็ระบุไปว่าจะยกที่อยู่ให้กับแฟนไป
  • พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง : เป็นการทำพินัยกรรมโดยที่เข้าไปแจ้งต่ออำเภอว่าจะให้ทางราชการเป็นคนช่วนทำพินัยกรรมแล้วก็เก็บรักษาไว้ บางคนกลัวแม่มาค้นตู้ตอนไม่อยู่แล้วกลัวแม่จะรู้ความลับจากพินัยกรรม ก็ฝากไว้กับทางราชการแทนได้
เมื่อคู่รักเกย์จะซื้อทรัพย์สินเพื่ออยู่ด้วยกันก็ต้องมีการวางแผนก็หน่อย เจอที่อยู่ที่ชอบแล้ว ก็ซื้อร่วมกันด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงอย่าลืมป้องกันความเสี่ยงเมื่อคนหนึ่งจากไปก่อนด้วยการทำพินัยกรรมเอาไว้ให้อีกฝ่าย 

ขอบคุณ ข่าว http://www.hongkhao.com/2017/12/03/จะเป็นอะไรดี-เผยชีวิต-เ/