กางเกงก็ได้ กระโปรงก็ดี! เม็กซิโกให้นักเรียนใส่เครื่องแบบตามใจ เพื่อสนับสนุนความเท่าเทียม

//

lgbt Thai Team

beefhunt

พูดได้ว่าเด็กไทยอย่างเราๆ นั้นคุ้นเคยการใส่เครื่องแบบนักเรียนกันเป็นอย่างดี เพราะต้องใส่กันตั้งแต่เข้าเรียนชั้นอนุบาลไปจนกระทั่งจบมหาวิทยาลัย

ซึ่งชุดนักเรียนหรือนักศึกษาที่ว่านี้ก็เป็นประเด็นให้โต้เถียงในหลายๆ เรื่อง หลายคนตั้งคำถามว่าชุดนักเรียนช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้จริงมั้ย หรือช่วยให้ประหยัดเงินมากขึ้นจริงหรือเปล่า รวมไปถึงอีกประเด็นที่น่าสนใจอย่างการที่นักเรียนนักศึกษาต้องใส่ชุดตามเพศกำเนิดของตัวเอง ผู้หญิงต้องใส่กระโปรง ส่วนผู้ชายต้องใส่กางเกง เรียกว่าเป็นกรอบของสังคมเลยก็ว่าได้    เกย์หาเพื่อน

ถ้ามองตามความเป็นจริงแล้วเรื่องเพศในปัจจุบันนั้นมีความหลากหลายมากๆ การที่เด็กๆ ถูกจำกัดด้วยเครื่องแต่งกายตามเพศกำเนิดจึงเหมือนกับถูกจำกัดความเป็นตัวเองของแต่ละคนด้วยเช่นกัน หลายๆ ประเทศเองก็เริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น อย่างก่อนหน้านี้ที่ไต้หวันมีการรณรงค์เพื่อลบบรรทัดฐานเรื่องการแต่งกายตามเพศ ซึ่งโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งได้อนุญาตให้นักเรียนชายใส่กระโปรงมาเรียนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และบรรดานักเรียนชายเองก็สวมกระโปรงมาเรียนจนกลายเป็นประเด็นไวรัลให้คนวิพากษ์วิจารณ์กันมาแล้ว

Love2test

และล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา นายกเทศมนตรีของเมืองเม็กซิโกซิตี้ “คลอเดีย เชนบัม” (Claudia Sheinbaum) ก็ได้ประกาศระหว่างที่ไปเยี่ยมโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งว่า นักเรียนโรงเรียนรัฐไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องแบบที่ตรงกับเพศกำเนิดอีกต่อไป เธอกล่าวว่า “เด็กผู้ชายจะใส่กระโปรงก็ได้ถ้าอยากใส่ ส่วนเด็กผู้หญิงจะใส่กางเกงก็ได้เหมือนกัน” เธอยังบอกเพิ่มเติมอีกว่าบรรทัดฐานสังคมที่กำหนดให้ผู้หญิงต้องใส่กระโปรงและผู้ชายต้องใส่กางเกงเป็นความคิดแบบเก่าไปแล้ว และข้อบัญญัตินี้ก็บังคับใช้เพื่อสร้างความเท่าเทียมและความเสมอภาคให้กับทุกเพศ ซึ่ง เอสเตบัน มอกเตซูม่า รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการออกมาให้การสนับสนุนพร้อมกับเสริมว่าเมืองอื่นๆ ในเม็กซิโกจะทำตามอย่างแน่นอน

แน่นอนว่าเม็กซิโกไม่ใช่ประเทศแรกที่อนุญาตค่ะ อย่างในปี 2017 ที่ประเทศอังกฤษก็ออกนโยบายให้นักเรียนสามารถเลือกได้เองว่าอยากใส่กระโปรงหรือกางเกง โดยมีโรงเรียนถึง 120 แห่งนำไปปรับใช้ ซึ่ง 1 ในโรงเรียนที่รับนโยบายนี้ไปก็บอกว่า มีเด็กนักเรียนหญิงหลายคนใส่กางเกงมาเรียน และมีนักเรียนชายอีก 1 คนเลือกที่จะสวมกระโปรงมา

อย่างไรก็ตามพี่ว่าอีกประเด็นที่น่าสนใจคือเบื้องหลังในการผลักดันให้โรงเรียนนำนโยบายนี้ไปใช้ค่ะ เคยมีการศึกษาในอังกฤษพบว่า 1% ของประชากรนั้นมีปัญหาในประเด็นเรื่องเพศของตัวเอง หลายคนรู้สึกไม่สะดวกใจที่ต้องแต่งตัวหรือแสดงออกตามเพศกำเนิด และมีอีกหลายคนที่ประสบกับปัญหาในประเด็นนี้อย่างรุนแรง แถมมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไป เพราะฉะนั้นการปล่อยให้เด็กๆ ได้มีโอกาสค้นหาว่าตัวเองชอบหรือเหมาะกับอะไรจึงเป็นการช่วยลดความสับสนที่เกิดขึ้น รวมไปถึงยังเป็นโอกาสที่การศึกษาพึงมอบให้เด็กๆ อยู่แล้วด้วยค่ะ

ขอบคุณ ข่าวจาก https://www.dek-d.com/studyabroad/52871/?fbclid=IwAR2wDESBwZUNOYOZ_xQoDzaq1e3-ef9EcUftSumJ1FUsMBLtDKfX12-LsAk